ศาลสั่ง กทม. สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการ ทุกสถานีบีทีเอส
ใน 1 ปีนี้ เราจะได้เห็นลิฟท์และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ทุพพลภาพทุกสถานีบีทีเอส ขอสนับสนุนปฏิบัติการขนส่งมวลชนชน ทุกคนต้องขึ้นได้ค่ะ
ภาพและข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/476251
คนพิการเฮ! ศาลปกครองสูงสุดตัดสิน กทม. ละเลย ก.ม.อำนวยความสะดวกคนพิการ นาน 6 ปี สั่งผู้ว่าฯ กทม.เร่งจัด ให้ผู้ทุพพลภาพใช้บีทีเอสได้ทุกสถานีใน 1 ปี "สุภรธรรม" เตรียมนำคำสั่งศาลหารือระบบมวลชนอื่น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการ
วันที่ 21 ม.ค. เวลา 13.30 น. ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีที่ นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค กับพวกจำนวน 3 คน ฟ้อง กทม. ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ในข้อหาร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้ต้องจัดสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วบริเวณสถานี และบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส
โดยมีคำสั่งให้ กทม.จัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทั้ง 23 สถานี และให้ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส
โดยให้เว้นที่สำหรับจอดเก้าอี้เข็นคนพิการ ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 ซม. และให้ราวจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. บริเวณทางขึ้นลง และติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ทั้งในและนอกตัวรถที่จัดให้สำหรับคนพิการ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และตามระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากมีคำพิพากษา
พลังคนพิการ
โดย ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ กทม. โดย ผู้ว่าฯ กทม. และบีทีเอส ได้ทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2534 ก่อนที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จะออกระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. 2544 ไม่อาจใช้บังคับสัญญาสัมปทานดังกล่าวก็ตาม
แต่เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม. ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารสถานีขนส่งมวลชนที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
แต่ในข้อเท็จจริงคดีนี้ ปรากฏว่า กทม.ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี และไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า เหตุที่ไม่ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการในอีก 18 สถานี เกิดจากข้อจำกัดอันใด
จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ ทุกสถานีบีทีเอส
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าฯ กทม. รายงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือที่ กท 4000/3314 ลงวันที่ 4 พ.ค.2542 แสดงให้เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่ กทม. โดยผู้ว่าฯ กทม.จะจัดอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายได้
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2552 ศาลปกครองกลางได้พิพากษายกฟ้องในคดีนี้ โดยระบุว่า แม้ขณะนั้นจะมี พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ใช้บังคับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดรายละเอียดของอาคาร สถานี และยานพาหนะ ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใดนั้น การที่กทม. ผู้ว่าฯกทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.บีทีเอส ไม่ได้ก่อสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวก จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายในขณะนั้นใช้บังคับและไม่อาจถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแต่อย่างใด
วันเดียวกันภายหลังศาลอ่านคำพิพากษา นายสุภรธรรม ให้สัมภาษณ์ว่า รู้สึกตื้นตันใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าสังคมดีขึ้น เป็นการสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งเป็นการสร้างสำนึกและจิตสาธารณะของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกตนและคนพิการรอคอยมานาน ถือว่าคุ้มค่ามาก โดยหลังจากนี้ จะติดตามการดำเนินการของ กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งของศาล
"ส่วนระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น เราก็จะไปพูดคุยเพื่อให้มีการอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการที่ใช้บริการ โดยจะใช้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการต่อไป" นายสุภรธรรม ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการรอฟังคำพิพากษาในวันนี้ มีผู้พิการ ผู้สูงอายุ เครือข่ายมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ และชมรมมนุษย์ล้อและเครือข่ายคนพิการนานาชาติ จำนวนกว่า 100 คน ในนามกลุ่ม “ปฏิบัติการขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้” เดินทางมารับฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดต่อคดีดังกล่าว โดยก่อนเข้ารับฟังคำพิพากษา ทั้งหมดได้แถลงการณ์ยืนยันเจตนารมณ์ว่า ระบบขนส่งมวลชนของไทย และที่จะเชื่อมต่อในประเทศอาเซียนนั้น คนพิการทุกคนต้องขึ้นได้ด้วยความสะดวก ปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยบริการขนส่งสาธารณะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าเทียมกัน
ใน 1 ปีนี้ เราจะได้เห็นลิฟท์และสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ทุพพลภาพทุกสถานีบีทีเอส ขอสนับสนุนปฏิบัติการขนส่งมวลชนชน ทุกคนต้องขึ้นได้ค่ะ
ภาพและข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/476251
คนพิการเฮ! ศาลปกครองสูงสุดตัดสิน กทม. ละเลย ก.ม.อำนวยความสะดวกคนพิการ นาน 6 ปี สั่งผู้ว่าฯ กทม.เร่งจัด ให้ผู้ทุพพลภาพใช้บีทีเอสได้ทุกสถานีใน 1 ปี "สุภรธรรม" เตรียมนำคำสั่งศาลหารือระบบมวลชนอื่น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการ
วันที่ 21 ม.ค. เวลา 13.30 น. ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในคดีที่ นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอภาค กับพวกจำนวน 3 คน ฟ้อง กทม. ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ในข้อหาร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ที่กำหนดให้ต้องจัดสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วบริเวณสถานี และบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส
โดยมีคำสั่งให้ กทม.จัดทำลิฟต์ขึ้นลงสำหรับผู้พิการที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้ง 23 สถานี และให้จัดทำอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทั้ง 23 สถานี และให้ติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการบนรถไฟฟ้าบีทีเอส
โดยให้เว้นที่สำหรับจอดเก้าอี้เข็นคนพิการ ให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 ซม. และให้ราวจับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. บริเวณทางขึ้นลง และติดสัญลักษณ์คนพิการไว้ทั้งในและนอกตัวรถที่จัดให้สำหรับคนพิการ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และตามระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ให้ดำเนินการตามคำสั่งศาลให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี หลังจากมีคำพิพากษา
พลังคนพิการ
โดย ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ กทม. โดย ผู้ว่าฯ กทม. และบีทีเอส ได้ทำสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2534 ก่อนที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจะออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ออกความตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 กำหนดลักษณะอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือบริการสาธารณะอื่นที่ต้องมีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ และคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ จะออกระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค. 2544 ไม่อาจใช้บังคับสัญญาสัมปทานดังกล่าวก็ตาม
แต่เมื่อกฎกระทรวงและระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของ กทม. ซึ่งเป็นเจ้าของอาคารสถานีขนส่งมวลชนที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
แต่ในข้อเท็จจริงคดีนี้ ปรากฏว่า กทม.ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการเพียง 5 สถานี จากสถานีขนส่งจำนวนทั้งสิ้น 23 สถานี และไม่ได้แสดงให้ศาลเห็นว่า เหตุที่ไม่ได้จัดทางขึ้น-ลง และลิฟต์อำนวยความสะดวกแก่คนพิการในอีก 18 สถานี เกิดจากข้อจำกัดอันใด
จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการ ทุกสถานีบีทีเอส
นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามเอกสารสรุปการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่ผู้ว่าฯ กทม. รายงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามหนังสือที่ กท 4000/3314 ลงวันที่ 4 พ.ค.2542 แสดงให้เห็นว่าอยู่ในวิสัยที่ กทม. โดยผู้ว่าฯ กทม.จะจัดอาคารสถานีรถไฟฟ้า ยานพาหนะให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายได้
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2552 ศาลปกครองกลางได้พิพากษายกฟ้องในคดีนี้ โดยระบุว่า แม้ขณะนั้นจะมี พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ใช้บังคับ แต่กฎหมายดังกล่าวไม่ได้กำหนดรายละเอียดของอาคาร สถานี และยานพาหนะ ที่จะต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่อย่างใดนั้น การที่กทม. ผู้ว่าฯกทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม. และ บมจ.บีทีเอส ไม่ได้ก่อสร้างลิฟต์และสิ่งอำนวยความสะดวก จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายในขณะนั้นใช้บังคับและไม่อาจถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรแต่อย่างใด
วันเดียวกันภายหลังศาลอ่านคำพิพากษา นายสุภรธรรม ให้สัมภาษณ์ว่า รู้สึกตื้นตันใจ เพราะคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าสังคมดีขึ้น เป็นการสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคม รวมทั้งเป็นการสร้างสำนึกและจิตสาธารณะของคนในสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกตนและคนพิการรอคอยมานาน ถือว่าคุ้มค่ามาก โดยหลังจากนี้ จะติดตามการดำเนินการของ กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งของศาล
"ส่วนระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น เราก็จะไปพูดคุยเพื่อให้มีการอำนวยความสะดวกให้กับคนพิการที่ใช้บริการ โดยจะใช้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการต่อไป" นายสุภรธรรม ระบุ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการรอฟังคำพิพากษาในวันนี้ มีผู้พิการ ผู้สูงอายุ เครือข่ายมูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ และชมรมมนุษย์ล้อและเครือข่ายคนพิการนานาชาติ จำนวนกว่า 100 คน ในนามกลุ่ม “ปฏิบัติการขนส่งมวลชนทุกคนต้องขึ้นได้” เดินทางมารับฟังคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดต่อคดีดังกล่าว โดยก่อนเข้ารับฟังคำพิพากษา ทั้งหมดได้แถลงการณ์ยืนยันเจตนารมณ์ว่า ระบบขนส่งมวลชนของไทย และที่จะเชื่อมต่อในประเทศอาเซียนนั้น คนพิการทุกคนต้องขึ้นได้ด้วยความสะดวก ปลอดภัยอย่างแท้จริง โดยบริการขนส่งสาธารณะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้เท่าเทียมกัน