METHODOLOGY

การกำหนดสถานที่ดึงดูด

กำหนดสถานที่ดึงดูดการเดิน และกำหนดเกณฑ์ด้านระยะทางการเดินเท้าเพื่อเข้าถึงสถานที่ดึงดูดการเดินนั้น

เนื่องจากข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมมีจำกัด และข้อมูลที่ด้านพฤติกรรมของคนไทยไม่ชัดเจน จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการสำรวจโดยแบบสอบถามบุคคลทั่วไป (จำนวนตัวอย่างเท่ากับ 1111) เพื่อกำหนดรายชื่อสถานที่ดึงดูดการเดิน รวมถึงกำหนดระยะทางการเดินเท้า ที่จะนำมาใช้คิดคำนวณ GoodWalk Score ของแต่ละจุดหรือพื้นที่

สร้างค่าคะแนนการเดินได้

สถานที่ดึงดูดการเดินที่นำมาใช้คำนวณ GoodWalk Score มีทั้งสิ้น 33 ชนิด โดยสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่ 1.แหล่งงาน 2.สถานศึกษา 3.แหล่งจับจ่ายใช้สอย 4.พื้นที่นันทนาการ 5.สถานที่บริการสาธารณะและธุรกรรม 6.สถานที่ขนส่งสาธารณะ

GoodWalk Score1-100 คะแนน ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยย่อย 3 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านระยะทาง โดยหากมีระยะทางจากสถานที่ดึงดูดการเดินใกล้ จะมีคะแนนสูง แต่หากมีระยะทางไกลหรือเกิน 800 m ซึ่งเป็นระยะทางที่ผู้อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครพร้อมที่จะเดินมากที่สุดจากแบบสอบถาม จะไม่ถูกนำมานับคะแนน (2) ปัจจัยด้านความสำคัญในชีวิตประจำวัน ซึ่งใช้ผลจากการสำรวจแบบสอบถามเป็นพื้นฐานในการคำนวณเช่นกัน โดยหากมีความถี่ในการใช้งานสูง จะถูกคูณด้วยค่าสัมประสิทธิ์ที่สูงกว่าสถานที่ดึงดูดการเดินที่มีความถี่ในการใช้งานต่ำ และ (3) ปัจจัยด้านลำดับศักย์ของสิ่งดึงดูด โดยสถานที่ดึงดูดการเดินที่มีขนาดใหญ่กว่า จะถูกคูณด้วยค่าสัมประสิทธิ์ที่สูงกว่าสถานที่ดึงดูดการเดินที่มีขนาดเล็กกว่าเช่นกัน

วิเคราะห์ค่าคะแนน

เมื่อได้วิธีการคำนวณ GoodWalk Score แล้ว จึงเริ่มคำนวณค่าคะแนนของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม) โดยแยกเป็นประเภทสถานที่ดึงดูดการเดินทั้ง 6 ประเภทก่อน จากนั้นจึงนำแผนที่การเดินได้ทั้ง 6 ประเภทมาซ้อนทับกัน เพื่อประมวลให้เป็น GoodWalk Score อีกครั้งหนึ่ง

ตรวจสอบความถูกต้อง

เมื่อได้แผนที่การเดินได้จากการบูรณาการข้อมูลทั้งหมดแล้ว จึงทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแผนที่ โดยพิจารณาจากความเป็นย่านของแต่ละพื้นที่