ความปลอดภัยบนท้องถนน…สร้างได้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
เนื้อหา : CHANIN MANOPINIWES , http://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/th/thailand-road-safety-will-never-happen-accident
ภาพ : Dennis Thern
ในประเทศไทยทุกๆ หนึ่งชั่วโมง อุบัติเหตุบนท้องถนนคร่า 1 ชีวิต จากประชากรทั้งประเทศ 70 ล้านคน อัตราความสูญเสียนี้สามารถบ่งชี้ถึงความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ?
ข้อมูลจากหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนรายงานว่า อัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลงเหลือแค่ 2 ใน 3 ภายในเวลา 10 ปี (เมื่อเทียบกับตัวเลขในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา) อย่างไรก็ตาม ความสูญเสียจากอุบัติเหตุกลับเพิ่มความรุนแรงขึ้น โอกาสที่ผู้บาดเจ็บมีอาการสาหัส หรือทุพลภาพเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์
เมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนเป็นอันดับ 3 ของโลก! รายงาน Global Status Report on Road Safety โดยองค์การอนามัยโลก พบว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงถึง 38 ราย ต่อประชากร 100,000 รายต่อปี รองจากประเทศเอริเทรีย (48 ราย) และประเทศลิเบีย (41 ราย)
นอกเหนือจากการได้รับการขนานนามให้เป็นถนนที่ “อันตรายที่สุดในเอเซีย” แล้ว ประเทศไทยยังได้อันดับ 1 ในด้านอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับยานพาหนะสองล้อ โดยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าว มากถึงร้อยละ 70 ของอุบัติเหตุจราจรทั้งหมด
ความเสียหาย-การสูญเสีย
มีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรราว 26,000 รายต่อปี ซ้ำยังมีเหยื่อผู้บาดเจ็บอีกนับหลายแสนราย และมีผู้เคราะห์ร้ายที่กลายเป็นอัมพาตอีกนับไม่ถ้วน จึงถือได้ว่าอุบัติเหตุจราจรของไทยนั้นเป็นภัยพิบัติระดับชาติอย่างหนึ่ง เสมือนว่าประเทศไทยกำลังทำสงครามระดับย่อมอยู่ กลุ่มประชากรที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรมากที่สุด คือกลุ่มเพศชาย อายุ 15-24 ปี ที่เป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจราจรมากกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า) ซึ่งการสูญเสียกลุ่มเยาวชนเหล่านื้ ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้ายิ่งนักสำหรับประเทศชาติและคนในครอบครัว
ความเสียหายโดยรวมที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจราจร (ซึ่งคิดคำนวนจาก วันทำงานที่สูญเสียไป ผลิตภาพที่ลดลง ค่ารักษาพยายาล ความเสียหายทางทรัพย์สินและยานพาหนะ ความล่าช้าในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายด้านธุรการอื่นๆ) ได้ส่งผลกระทบทำให้จีดีพีของไทยลดลงไปถึงเกือบร้อยละ 3 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งเท่ากับการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิอีกแห่งได้ทุกๆ ปี!
เมื่อช่วงสงกรานต์ของปีที่แล้ว คุณสุทยุต เพื่อนร่วมงานของผมก็ได้เขียนอธิบายถึง “รากเหง้าของอุบัติเหตุทางถนน” โดยชี้แจงว่า พฤติกรรมการขับขี่คือหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แม้ว่าการเมาแล้วขับนั้นถือเป็นปัญหาเหมือนกันทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลรื่นเริงต่างๆ แต่ในช่วง “เจ็ดวันอันตราย” ของไทยนั้น อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นพุ่งตัวสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว จาก 27 รายต่อวันโดยเฉลี่ย เป็น 52 รายต่อวัน หรือประมาณ 2 รายต่อชั่วโมง
ทั้งๆ ที่โครงสร้างพื้นฐานและระบบการจัดการอื่นๆ เช่น สภาพถนน จำนวนตำรวจ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ฯลฯ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากช่วเวลาปกติสักเท่าใด ตัวเลขเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการ “แก้ที่คน”
การสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน
รัฐบาลไทยตั้งเป้าว่าจะลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือต่ำกว่า 10 รายต่อประชากร 100,000 คนต่อปีให้สำเร็จภายในปี 2563 ตามแนวทางโครงการ “Decade of Action for Road Safety” โดยองค์กรสหประชาชาติ
แน่นอนว่า มาตราฐานการป้องกันอุบัติเหตุด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ก็สามารถช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น การออกแบบถนนที่ดี การติดกระจกโค้งตามจุดบอด การมีลูกระนาดบนพื้นถนนเพื่อลดความเร็วเมื่อถึงทางโค้ง การติดป้ายเตือนเด็กข้ามถนน ฯลฯ
แม้กระนั้น พฤติกรรมเองก็มีส่วนเป็นอย่างมากในการทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้น การรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ผู้ใช้ไปจนถึงระดับการวางแผน เช่น การสนับสนุนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ การอบรมจัดกิจกรรมและนิทรรศการรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรในสถานศึกษา การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง ฯลฯ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ มาตราที่เป็นการ “บังคับ” (hard measures) และมาตราที่เป็นการ “รณรงค์” (soft measures) ไม่เพียงทดแทนไม่ได้ แต่ยังมีส่วนส่งเสริมกันและกัน ทำให้การลดอุบัติเหตุทางถนนมีประสิทธิผลมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา Duncan Green จากองค์กร Oxfam ได้เขียนไว้ในบทความบนหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “อุบัติเหตุจราจรกำลังคร่าชีวิตผู้คน มากพอๆกับโรคมาลาเรีย” ทว่า “การชักชวนคนขับรถเมล์ให้ลดความเร็วลงนั้น สามารถทำได้ง่ายกว่าการสู้รบปรบมือกับโรคมาลาเรียมากนัก”
แต่ถึงกระนั้นการชักชวนคนขับรถให้ช้าลงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และในระยะยาวแล้ว อาจเป็นเรื่องยากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะ ความท้าทายในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งรวมถึงการอบรมให้ความรู้เยาวชนรุ่นใหม่ ทว่าบริบทของสังคมและพฤติกรรมของคนนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การรณรงค์จึงควรทำอย่างสร้างสรรค์และอย่างต่อเนื่อง
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการปลูกฝังระเบียบวินัยนั้นควรทำกันตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่ดีที่สุดในการสร้างความเข้าใจถึงความร้ายแรงของอุบัติเหตุบนท้องถนน สุดท้ายนี้ ผมจึงขอฝากคำถามไว้ให้ท่านผู้อ่านว่า คุณมีวิธีหรือสำนวนเด็ดๆ อะไรบ้างมั้ย เพื่อใช้เตือนสติคนใกล้ชิดของท่าน ให้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย?
เนื้อหา : CHANIN MANOPINIWES , http://blogs.worldbank.org/eastasiapacific/th/thailand-road-safety-will-never-happen-accident
ภาพ : Dennis Thern
ในประเทศไทยทุกๆ หนึ่งชั่วโมง อุบัติเหตุบนท้องถนนคร่า 1 ชีวิต จากประชากรทั้งประเทศ 70 ล้านคน อัตราความสูญเสียนี้สามารถบ่งชี้ถึงความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ?
ข้อมูลจากหน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนรายงานว่า อัตราการบาดเจ็บและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนลดลงเหลือแค่ 2 ใน 3 ภายในเวลา 10 ปี (เมื่อเทียบกับตัวเลขในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา) อย่างไรก็ตาม ความสูญเสียจากอุบัติเหตุกลับเพิ่มความรุนแรงขึ้น โอกาสที่ผู้บาดเจ็บมีอาการสาหัส หรือทุพลภาพเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์
เมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้ว ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนเป็นอันดับ 3 ของโลก! รายงาน Global Status Report on Road Safety โดยองค์การอนามัยโลก พบว่าประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงถึง 38 ราย ต่อประชากร 100,000 รายต่อปี รองจากประเทศเอริเทรีย (48 ราย) และประเทศลิเบีย (41 ราย)
นอกเหนือจากการได้รับการขนานนามให้เป็นถนนที่ “อันตรายที่สุดในเอเซีย” แล้ว ประเทศไทยยังได้อันดับ 1 ในด้านอุบัติเหตุที่เกี่ยวกับยานพาหนะสองล้อ โดยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุดังกล่าว มากถึงร้อยละ 70 ของอุบัติเหตุจราจรทั้งหมด
ความเสียหาย-การสูญเสีย
มีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรราว 26,000 รายต่อปี ซ้ำยังมีเหยื่อผู้บาดเจ็บอีกนับหลายแสนราย และมีผู้เคราะห์ร้ายที่กลายเป็นอัมพาตอีกนับไม่ถ้วน จึงถือได้ว่าอุบัติเหตุจราจรของไทยนั้นเป็นภัยพิบัติระดับชาติอย่างหนึ่ง เสมือนว่าประเทศไทยกำลังทำสงครามระดับย่อมอยู่ กลุ่มประชากรที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรมากที่สุด คือกลุ่มเพศชาย อายุ 15-24 ปี ที่เป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจราจรมากกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า) ซึ่งการสูญเสียกลุ่มเยาวชนเหล่านื้ ก็ถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้ายิ่งนักสำหรับประเทศชาติและคนในครอบครัว
ความเสียหายโดยรวมที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุจราจร (ซึ่งคิดคำนวนจาก วันทำงานที่สูญเสียไป ผลิตภาพที่ลดลง ค่ารักษาพยายาล ความเสียหายทางทรัพย์สินและยานพาหนะ ความล่าช้าในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายด้านธุรการอื่นๆ) ได้ส่งผลกระทบทำให้จีดีพีของไทยลดลงไปถึงเกือบร้อยละ 3 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งเท่ากับการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิอีกแห่งได้ทุกๆ ปี!
เมื่อช่วงสงกรานต์ของปีที่แล้ว คุณสุทยุต เพื่อนร่วมงานของผมก็ได้เขียนอธิบายถึง “รากเหง้าของอุบัติเหตุทางถนน” โดยชี้แจงว่า พฤติกรรมการขับขี่คือหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ แม้ว่าการเมาแล้วขับนั้นถือเป็นปัญหาเหมือนกันทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลรื่นเริงต่างๆ แต่ในช่วง “เจ็ดวันอันตราย” ของไทยนั้น อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนนั้นพุ่งตัวสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว จาก 27 รายต่อวันโดยเฉลี่ย เป็น 52 รายต่อวัน หรือประมาณ 2 รายต่อชั่วโมง
ทั้งๆ ที่โครงสร้างพื้นฐานและระบบการจัดการอื่นๆ เช่น สภาพถนน จำนวนตำรวจ บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ฯลฯ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากช่วเวลาปกติสักเท่าใด ตัวเลขเหล่านี้จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการ “แก้ที่คน”
การสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน
รัฐบาลไทยตั้งเป้าว่าจะลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือต่ำกว่า 10 รายต่อประชากร 100,000 คนต่อปีให้สำเร็จภายในปี 2563 ตามแนวทางโครงการ “Decade of Action for Road Safety” โดยองค์กรสหประชาชาติ
แน่นอนว่า มาตราฐานการป้องกันอุบัติเหตุด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ก็สามารถช่วยให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น การออกแบบถนนที่ดี การติดกระจกโค้งตามจุดบอด การมีลูกระนาดบนพื้นถนนเพื่อลดความเร็วเมื่อถึงทางโค้ง การติดป้ายเตือนเด็กข้ามถนน ฯลฯ
แม้กระนั้น พฤติกรรมเองก็มีส่วนเป็นอย่างมากในการทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ดังนั้น การรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ผู้ใช้ไปจนถึงระดับการวางแผน เช่น การสนับสนุนการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ การอบรมจัดกิจกรรมและนิทรรศการรณรงค์ลดอุบัติเหตุจราจรในสถานศึกษา การวางแผนเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง ฯลฯ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ มาตราที่เป็นการ “บังคับ” (hard measures) และมาตราที่เป็นการ “รณรงค์” (soft measures) ไม่เพียงทดแทนไม่ได้ แต่ยังมีส่วนส่งเสริมกันและกัน ทำให้การลดอุบัติเหตุทางถนนมีประสิทธิผลมากขึ้น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา Duncan Green จากองค์กร Oxfam ได้เขียนไว้ในบทความบนหนังสือพิมพ์ The Guardian ของอังกฤษเมื่อเร็วๆ นี้ว่า “อุบัติเหตุจราจรกำลังคร่าชีวิตผู้คน มากพอๆกับโรคมาลาเรีย” ทว่า “การชักชวนคนขับรถเมล์ให้ลดความเร็วลงนั้น สามารถทำได้ง่ายกว่าการสู้รบปรบมือกับโรคมาลาเรียมากนัก”
แต่ถึงกระนั้นการชักชวนคนขับรถให้ช้าลงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และในระยะยาวแล้ว อาจเป็นเรื่องยากกว่าเสียด้วยซ้ำ เพราะ ความท้าทายในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งรวมถึงการอบรมให้ความรู้เยาวชนรุ่นใหม่ ทว่าบริบทของสังคมและพฤติกรรมของคนนั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การรณรงค์จึงควรทำอย่างสร้างสรรค์และอย่างต่อเนื่อง
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่าการปลูกฝังระเบียบวินัยนั้นควรทำกันตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่ดีที่สุดในการสร้างความเข้าใจถึงความร้ายแรงของอุบัติเหตุบนท้องถนน สุดท้ายนี้ ผมจึงขอฝากคำถามไว้ให้ท่านผู้อ่านว่า คุณมีวิธีหรือสำนวนเด็ดๆ อะไรบ้างมั้ย เพื่อใช้เตือนสติคนใกล้ชิดของท่าน ให้ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย?