อะไรๆ ก็ดี ถ้า “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”
อะไรๆ ก็ดี ถ้า “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”
“เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ส่งผลดีทั้งในด้านสุขภาวะ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”
ด้านสุขภาวะ
การจัดวางผังเมืองให้คนในพื้นที่สามารถเดินทางเข้าสู่ ที่ทำงาน สวนสาธารณะ ร้านค้า ได้อย่างง่ายดาย ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้เกือบ 10%
Ken R. และคณะ (2008)
การอยู่อาศัยในย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mixed Use Area) ที่มีสาธารณูปการที่หลากหลายในระยะที่เข้าถึงได้ด้วยการเดิน จะทำให้มีอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายสูง และจะสูงขึ้นหากมีการรับรู้ถึงที่ตั้งของสาธารณูปการต่างๆ และความสะดวกในการเข้าถึงด้วยการเดิน
Kondo และคณะ (2009)
การจัดให้มีสาธารณูปการในระยะเดินเท้า สร้างความเชื่อมต่อของถนน และ เพิ่มความหนาแน่นให้กับที่อยู่อาศัย ช่วยเพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายโดยการเดิน ทั้งเพื่อการพักผ่อน และการเดินทางของผู้อยู่อาศัย
Witten และคณะ (2012)
ด้านเศรษฐกิจ
แรงงานที่มีความสามารถสูงและมีความคิดสร้างสรรค์ (High Skill Workers) มีแนวโน้มที่จะเลือกที่ทำงานในย่านที่มีสภาพแวดล้อมเป็นมิตรต่อการเดินเท้า เช่น มีทางเท้าที่ดี มีระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม มีทางเลือกในระบบขนส่งมวลชนที่หลากหลาย การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อการเดิน จึงมีส่วนสำคัญในการดึงดูดธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่นั้นๆ
รายงาน Collaborative Economics, 1998
และ National Association of Local Government Environmental Professionals (NALGEP), 1999
ประชาชนในย่าน Kentlands เมือง Gaitherburg รัฐ Maryland ประเทศสหรัฐอเมริกา ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นถึง 20,000 ดอลลาร์ เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยภายในย่านที่เป็นมิตรต่อการเดินเท้า
Mark J. Eppli และ Charles C. Tu (1999)
การพัฒนาถนนเพื่อการเดินเท้าและการใช้จักรยาน ช่วยเพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์และค่าเช่า ดึงดูดธุรกิจใหม่ๆ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ช่วยเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยโดยคนในพื้นที่
Tolley (2011)
ผู้ที่ใช้จักรยานมีการใช้จ่ายมากกว่าผู้ใช้รถยนต์ในการสัญจร และสรุปเพิ่มเติมได้ว่า การพัฒนาถนนเพื่อการเดินเท้า และการใช้จักรยานนั้น จะช่วยเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยได้มากกว่าผู้ใช้รถยนต์ซึ่งเพียงแต่ขับผ่าน
Tolley (2011)
ในสหรัฐอเมริกา ลูกค้าของพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในรัศมีการเดินเท้า ทำให้ย่านพาณิชยกรรมที่มีศักยภาพในการเดินเท้าสูงมักจะประสบความสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจ และทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นตามมา
Hack (2013)
การพัฒนาพื้นที่ทางเท้า การพัฒนาพื้นที่ทางจักรยาน และการลดพื้นที่จอดรถยนต์ ในเมือง Seattle สหรัฐอเมริกา ช่วยเพิ่มยอดขายสูงขึ้นถึง 400% แม้ว่าจะมีการลดพื้นที่จอดรถยนต์ลง
Rowe (2013)
ด้านสังคม
ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านที่มีความหนาแน่นและความเร็วของการจราจรต่ำ จะรู้จักพื้นที่ต่างๆ ในย่านที่อยู่อาศัยของตนเอง และมีความห่วงใยในสภาพแวดล้อมของย่านที่อยู่อาศัยมากกว่า ผู้อยู่อาศัยในย่านที่มีความหนาแน่นและความเร็วของการจราจรสูง
Jacobs (1995)
ศักยภาพการเดินเท้า เป็นดัชนีชี้วัดความน่าอยู่ของย่านที่สำคัญ เนื่องจากถนนและทางเดินเท้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนในชุมชนจะสามารถพบปะสังสรรค์กันได้ ดังนั้นการปรับปรุงศักยภาพการเดินเท้า จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชน หรือย่านน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
Forkenbrock และ Weisbrod (2001)
อะไรๆ ก็ดี ถ้า “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”
“เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ส่งผลดีทั้งในด้านสุขภาวะ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”
ด้านสุขภาวะ
การจัดวางผังเมืองให้คนในพื้นที่สามารถเดินทางเข้าสู่ ที่ทำงาน สวนสาธารณะ ร้านค้า ได้อย่างง่ายดาย ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนได้เกือบ 10%
Ken R. และคณะ (2008)
การอยู่อาศัยในย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mixed Use Area) ที่มีสาธารณูปการที่หลากหลายในระยะที่เข้าถึงได้ด้วยการเดิน จะทำให้มีอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายสูง และจะสูงขึ้นหากมีการรับรู้ถึงที่ตั้งของสาธารณูปการต่างๆ และความสะดวกในการเข้าถึงด้วยการเดิน
Kondo และคณะ (2009)
การจัดให้มีสาธารณูปการในระยะเดินเท้า สร้างความเชื่อมต่อของถนน และ เพิ่มความหนาแน่นให้กับที่อยู่อาศัย ช่วยเพิ่มอัตราการเคลื่อนไหวร่างกายโดยการเดิน ทั้งเพื่อการพักผ่อน และการเดินทางของผู้อยู่อาศัย
Witten และคณะ (2012)
ด้านเศรษฐกิจ
แรงงานที่มีความสามารถสูงและมีความคิดสร้างสรรค์ (High Skill Workers) มีแนวโน้มที่จะเลือกที่ทำงานในย่านที่มีสภาพแวดล้อมเป็นมิตรต่อการเดินเท้า เช่น มีทางเท้าที่ดี มีระบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม มีทางเลือกในระบบขนส่งมวลชนที่หลากหลาย การสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อการเดิน จึงมีส่วนสำคัญในการดึงดูดธุรกิจสร้างสรรค์ต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพื้นที่นั้นๆ
รายงาน Collaborative Economics, 1998
และ National Association of Local Government Environmental Professionals (NALGEP), 1999
ประชาชนในย่าน Kentlands เมือง Gaitherburg รัฐ Maryland ประเทศสหรัฐอเมริกา ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นถึง 20,000 ดอลลาร์ เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยภายในย่านที่เป็นมิตรต่อการเดินเท้า
Mark J. Eppli และ Charles C. Tu (1999)
การพัฒนาถนนเพื่อการเดินเท้าและการใช้จักรยาน ช่วยเพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์และค่าเช่า ดึงดูดธุรกิจใหม่ๆ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ช่วยเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยโดยคนในพื้นที่
Tolley (2011)
ผู้ที่ใช้จักรยานมีการใช้จ่ายมากกว่าผู้ใช้รถยนต์ในการสัญจร และสรุปเพิ่มเติมได้ว่า การพัฒนาถนนเพื่อการเดินเท้า และการใช้จักรยานนั้น จะช่วยเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยได้มากกว่าผู้ใช้รถยนต์ซึ่งเพียงแต่ขับผ่าน
Tolley (2011)
ในสหรัฐอเมริกา ลูกค้าของพื้นที่พาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง เป็นผู้ที่อยู่อาศัยในรัศมีการเดินเท้า ทำให้ย่านพาณิชยกรรมที่มีศักยภาพในการเดินเท้าสูงมักจะประสบความสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจ และทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้นตามมา
Hack (2013)
การพัฒนาพื้นที่ทางเท้า การพัฒนาพื้นที่ทางจักรยาน และการลดพื้นที่จอดรถยนต์ ในเมือง Seattle สหรัฐอเมริกา ช่วยเพิ่มยอดขายสูงขึ้นถึง 400% แม้ว่าจะมีการลดพื้นที่จอดรถยนต์ลง
Rowe (2013)
ด้านสังคม
ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านที่มีความหนาแน่นและความเร็วของการจราจรต่ำ จะรู้จักพื้นที่ต่างๆ ในย่านที่อยู่อาศัยของตนเอง และมีความห่วงใยในสภาพแวดล้อมของย่านที่อยู่อาศัยมากกว่า ผู้อยู่อาศัยในย่านที่มีความหนาแน่นและความเร็วของการจราจรสูง
Jacobs (1995)
ศักยภาพการเดินเท้า เป็นดัชนีชี้วัดความน่าอยู่ของย่านที่สำคัญ เนื่องจากถนนและทางเดินเท้าเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนในชุมชนจะสามารถพบปะสังสรรค์กันได้ ดังนั้นการปรับปรุงศักยภาพการเดินเท้า จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชน หรือย่านน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
Forkenbrock และ Weisbrod (2001)