เดิน ส่อง ย่าน: Historical Walk - รั้วอาคารกรมประชาสัมพันธ์
ทางเดินข้ามรั้วริมกำแพงกระทรวงการคลัง :ทางเดินนอกรีต
ทางข้ามรั้วริมกำแพงกระทรวงการคลังนี้ คือทางสัญจรของข้าราชการไปยังตลาดนัดซอยพิบูลย์วัฒนา 5 หรือที่เรียกกันว่า ‘ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง’ แหล่งขายอาหาร เสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ราคาถูก รองรับข้าราชการและคนที่ทำงานในบริเวณนี้โดยเฉพาะ
รั้วที่ขวางกั้นระหว่างกระทรวงการคลังและพื้นที่ตลาดนัดซอยพิบูลย์วัฒนา คือตัวอย่างรูปธรรมหนึ่งของความไม่ลงรอยกันระหว่างการออกแบบเมืองโดยรัฐกับธรรมชาติในการสัญจรของผู้คน รั้วขอบรอบกระทรวงการคลังที่กินพื้นที่ค่อนข้างกว้างนี้ทำให้เกิด ‘บล็อก’ (Urban Block) ที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ไปมาของผู้คนในย่านและลดความเชื่อมโยงกันของพื้นที่
ในกรุงเทพฯ เราจะพบเห็น Urban Block ที่มีขนาดใหญ่มากมายทั้งที่สร้างโดยรัฐและเอกชน บล๊อกเหล่านี้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเป็นเมืองที่เดินได้เดินดีนั่นเอง
ทางข้ามรั้วที่คุณเห็นอยู่นี้ จึงเป็นภาพสะท้อนการลุกขึ้นมาต่อรองการใช้พื้นที่ของ ‘คนเดิน’ จนทำให้เกิดเส้นทาง ‘ไม่ทางการ’ (บันไดข้ามกำแพง) ซึ่งกลายเป็นเส้นทาง ‘กึ่งทางการ’ (ประตูชั่วคราวที่ช่องกำแพง) ที่ได้รับการยอมรับและใช้สัญจรในชีวิตประจำวัน
เดิน! :
“ตามหาอาคารราชการแห่งแรกในย่านอารีย์ ใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร”
ทางเดินข้ามรั้วริมกำแพงกระทรวงการคลัง :ทางเดินนอกรีต
ทางข้ามรั้วริมกำแพงกระทรวงการคลังนี้ คือทางสัญจรของข้าราชการไปยังตลาดนัดซอยพิบูลย์วัฒนา 5 หรือที่เรียกกันว่า ‘ตลาดนัดหลังกระทรวงการคลัง’ แหล่งขายอาหาร เสื้อผ้า และข้าวของเครื่องใช้ราคาถูก รองรับข้าราชการและคนที่ทำงานในบริเวณนี้โดยเฉพาะ
รั้วที่ขวางกั้นระหว่างกระทรวงการคลังและพื้นที่ตลาดนัดซอยพิบูลย์วัฒนา คือตัวอย่างรูปธรรมหนึ่งของความไม่ลงรอยกันระหว่างการออกแบบเมืองโดยรัฐกับธรรมชาติในการสัญจรของผู้คน รั้วขอบรอบกระทรวงการคลังที่กินพื้นที่ค่อนข้างกว้างนี้ทำให้เกิด ‘บล็อก’ (Urban Block) ที่ขัดขวางการเคลื่อนที่ไปมาของผู้คนในย่านและลดความเชื่อมโยงกันของพื้นที่
ในกรุงเทพฯ เราจะพบเห็น Urban Block ที่มีขนาดใหญ่มากมายทั้งที่สร้างโดยรัฐและเอกชน บล๊อกเหล่านี้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเป็นเมืองที่เดินได้เดินดีนั่นเอง
ทางข้ามรั้วที่คุณเห็นอยู่นี้ จึงเป็นภาพสะท้อนการลุกขึ้นมาต่อรองการใช้พื้นที่ของ ‘คนเดิน’ จนทำให้เกิดเส้นทาง ‘ไม่ทางการ’ (บันไดข้ามกำแพง) ซึ่งกลายเป็นเส้นทาง ‘กึ่งทางการ’ (ประตูชั่วคราวที่ช่องกำแพง) ที่ได้รับการยอมรับและใช้สัญจรในชีวิตประจำวัน
เดิน! : “ตามหาอาคารราชการแห่งแรกในย่านอารีย์ ใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร” |