บันได 10 ขั้น สู่การเป็นเมืองเดินดี
บันได 10 ขั้น สู่การเป็นเมืองเดินดี
เราจะพลิกกรุงเทพฯ ให้เป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” อย่างไร
1.ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้า มากกว่ารถยนต์
ถนนบนในพื้นที่เมือง ควรให้ความสำคัญกับการสัญจรของคนเดินเท้ามากกว่ารถยนต์ โดยจัดให้รถยนต์สัญจรในพื้นที่ที่เหมาะสมเท่านั้น
2.สร้างสรรค์ความหลากหลาย
การใช้ที่ดินแบบผสมผสานหลากหลาย สร้างความคึกคักให้พื้นที่ ไม่เปลี่ยว กระตุ้นให้เกิดการเดิน
3. จัดพื้นที่จอดรถยนต์ให้ถูกต้อง
ปัญหาที่จอดรถยนต์ในเมืองเป็นเรื่องสำคัญ ควรลดการจอดรถบนท้องถนน และจัดพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการจอดรถโดยเฉพาะ
4. พัฒนาและส่งเสริมการใช้งานระบบขนส่งมวลชน
ระบบขนส่งมวลชนที่ดีส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณคนเดินเท้า และช่วยลดการใช้งานรถยนต์
5. เสริมความปลอดภัยให้คนเดินเท้า
อุปกรณ์ถนนที่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของคนเดิน จะส่งผลโดยตรงต่อความสบายใจในการใช้งานถนนนั้นๆ ทั้งในยามปกติและยามค่ำคืน
6. เพิ่มความเป็นมิตรกับเส้นทางจักรยาน
การเพิ่มพื้นที่สำหรับจักรยานบนท้องถนน ทำให้ความเร็วในการสัญจรโดยรถยนต์ช้าลง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้คนเดินเท้า
7. ออกแบบทางเท้าให้มีกิจกรรมและมีความสวยงาม
ถนนที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย และมีความสวยงามจะช่วยส่งเสริมการเดินของประชาชนทั่วไปได้ดีกว่า ถนนที่มีปราศจากสิ่งดึงดูด
8. ปลูกต้นไม้บนถนน
ต้นไม้ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีของถนน ทั้งในแง่ของการลดมลพิษ และการสร้างทัศนียภาพที่ดีของเมือง
9.ออกแบบอาคารให้น่าสนใจและดึงดูด
คนเดินเท้ายังต้องการเสน่ห์ของพื้นที่เพื่อกระตุ้นการเดิน หน้าตาอาคารที่น่าสนใจและดึงดูดจะช่วยเพิ่มประสบการณ์การเดิน
10. เลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
งบประมาณและเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้เอื้อต่อการเดินเท้า การเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
Jeff Speck (2013), Walkable City: How Downtown Can Save America, One Step at a Time
บันได 10 ขั้น สู่การเป็นเมืองเดินดี
เราจะพลิกกรุงเทพฯ ให้เป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” อย่างไร
1.ให้ความสำคัญกับคนเดินเท้า มากกว่ารถยนต์
ถนนบนในพื้นที่เมือง ควรให้ความสำคัญกับการสัญจรของคนเดินเท้ามากกว่ารถยนต์ โดยจัดให้รถยนต์สัญจรในพื้นที่ที่เหมาะสมเท่านั้น
2.สร้างสรรค์ความหลากหลาย
การใช้ที่ดินแบบผสมผสานหลากหลาย สร้างความคึกคักให้พื้นที่ ไม่เปลี่ยว กระตุ้นให้เกิดการเดิน
3. จัดพื้นที่จอดรถยนต์ให้ถูกต้อง
ปัญหาที่จอดรถยนต์ในเมืองเป็นเรื่องสำคัญ ควรลดการจอดรถบนท้องถนน และจัดพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับการจอดรถโดยเฉพาะ
4. พัฒนาและส่งเสริมการใช้งานระบบขนส่งมวลชน
ระบบขนส่งมวลชนที่ดีส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณคนเดินเท้า และช่วยลดการใช้งานรถยนต์
5. เสริมความปลอดภัยให้คนเดินเท้า
อุปกรณ์ถนนที่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของคนเดิน จะส่งผลโดยตรงต่อความสบายใจในการใช้งานถนนนั้นๆ ทั้งในยามปกติและยามค่ำคืน
6. เพิ่มความเป็นมิตรกับเส้นทางจักรยาน
การเพิ่มพื้นที่สำหรับจักรยานบนท้องถนน ทำให้ความเร็วในการสัญจรโดยรถยนต์ช้าลง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้คนเดินเท้า
7. ออกแบบทางเท้าให้มีกิจกรรมและมีความสวยงาม
ถนนที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย และมีความสวยงามจะช่วยส่งเสริมการเดินของประชาชนทั่วไปได้ดีกว่า ถนนที่มีปราศจากสิ่งดึงดูด
8. ปลูกต้นไม้บนถนน
ต้นไม้ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีของถนน ทั้งในแง่ของการลดมลพิษ และการสร้างทัศนียภาพที่ดีของเมือง
9.ออกแบบอาคารให้น่าสนใจและดึงดูด
คนเดินเท้ายังต้องการเสน่ห์ของพื้นที่เพื่อกระตุ้นการเดิน หน้าตาอาคารที่น่าสนใจและดึงดูดจะช่วยเพิ่มประสบการณ์การเดิน
10. เลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
งบประมาณและเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการปรับปรุงพื้นที่เพื่อให้เอื้อต่อการเดินเท้า การเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ
Jeff Speck (2013), Walkable City: How Downtown Can Save America, One Step at a Time