เมืองเดินได้-เมืองเดินดี เมืองที่มากกว่าการปรับปรุงทางเท้า
“เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” การพัฒนาเมืองที่มากกว่าการปรับปรุงทางเท้า
“เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” คือ เมืองที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้การเดินร่วมกับขี่จักรยานและระบบขนส่งมวลชน ผู้คนเดินสัญจรในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกปลอดภัย ซึ่งจะนำผลดีมาสู่ผู้คนที่อาศัยในเมืองทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมให้ดียิ่งขึ้น
การปรับปรุงพื้นที่เมือง หรือบางส่วนของเมืองให้เป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” เป็นเป้าหมายของการพัฒนาเมืองที่สำคัญประการหนึ่งที่เมืองต่างๆ ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ในเชิงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การประหยัดพลังงาน การรักษาสภาพแวดล้อม และการแก้ปัญหาจราจร นอกจากนั้นยังสามารถส่งเสริมสุขภาวะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองได้พร้อมๆ กัน
ที่มา : http://blog.goo.ne.jp/chiko370/e/9084a42e094f635cfb21d2c8024b6238
Tokyo, Japan OMY...ไม่หลับใหลยามค่ำคืน
ย่าน OMY (Otemachi-Marunouchi-Yurakucho) เป็นย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง ที่มีการใช้ที่ดินในลักษณะสำนักงาน ธนาคาร มาตั้งแต่ปี 1890 การใช้ประโยชน์รูปแบบเดียวทำให้เมืองร้างยามค่ำคืน และมีคนจรจัดเข้ามาจับจองพื้นที่ และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับพื้นที่พาณิชยกรรมอื่นๆ การฟื้นคืนสู่สีสันแห่งเมือง ด้วยการรื้อร้างสร้างใหม่ เพิ่มทางเดินเท้า พื้นที่สีเขียว ไฟส่องทาง พัฒนาชั้นล่างของอาคาร และ จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้มีการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่า โดยมีสำนักงานที่ทันสมัย ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหาร ทำให้เกิดการใช้งานตลอดเวลา ไม่ถูกทิ้งร้างในช่วงวันหยุด
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=3wPC4YGgjg8
Portland, United States of America ฉลาดอยู่ ฉลาดเดิน
ด้วยงบประมาณ 60 ล้านบาท รัฐมีการส่งเสริมให้คนใช้จักรยาน และระบบขนส่งมวลชน ส่งผลให้ในปัจจุบันระยะทางการใช้รถของคนเมืองลดลง 6.4 กิโลเมตร/วัน และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐได้ถึง 3.5 % นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ชี้ว่า ชาวเมือง Portland จับจ่ายใช้สอย และใช้เวลาว่างเพื่อการพักผ่อน และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่งผลให้เป็นเมืองที่มีการย้ายถิ่นเข้ามาของผู้ที่มีการศึกษาสูงเป็นจำนวนมากทำให้มีอัตราการตั้งบริษัทใหม่ที่สูง สะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่และเอื้อต่อการเดิน
ที่มา : http://kienviet.net/2012/06/26/curitiba-thanh-pho-xanh-nho-giao-thong-cong-cong
Curitiba, Brazil โต...ในกรอบ
ระบบ BRT (Bus Rapid Transit) ช่วยลดการเติบโตของเมืองแบบไร้ทิศทาง โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินคู่ไปกับการออกแบบระบบขนส่งมวลชน ทำให้การใช้รถยนต์ลดลงถึง 27 ล้านเที่ยวต่อปี ลดการใช้น้ำมันได้ 27 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่น้อยกว่าเมืองอื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกันในบราซิลถึงประมาณ 30% และ มีผู้ที่เดินไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ในย่านที่เอื้อต่อการเดิน
ที่มา : https://rwm9fc.wordpress.com/page/2/
Copenhagen, Denmark สองเท้า ก้าวเจริญ
โครงการพัฒนาทางเดินเท้า (Strøget) ได้ช่วยพลิกวิกฤติปัญหารถติดและมลพิษทางอากาศอย่างรุนแรงด้วยการยกเลิกการใช้รถยนต์ในเขตพื้นที่พาณิชยกรรมใจกลางเมือง และเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เน้นการเดินเป็นหลัก มีพื้นที่สาธารณะเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญในเมือง เช่น โบสถ์ พื้นที่พาณิชยกรรม และพื้นที่สาธารณะต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เมืองมีชีวิตชีวา ดึงดูดการเดินมากขึ้น
ที่มา : http://eriktravel.com/2014/08/19/birmingham/
Birmingham, United Kingdom เปลี่ยนเมืองช้ำเป็นเมืองช็อป
City Center Urban Strategy (1990) เปลี่ยนความเสื่อมโทรมและอาชญากรรมอันเป็นผลจากการเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนักของประเทศ ตามวัตถุประสงค์ 2 ประการได้แก่ 1) การพัฒนาจุดดึงดูดใหม่ใจกลางเมืองโดย ด้วยสร้างศูนย์ประชุม ห้างสรรพสินค้า (Bullring Mall) สถานีรถไฟแห่งใหม่ และ 2) เชื่อมโยงการพัฒนาระบบเดินเท้าและพื้นที่สาธารณะในเมือง ให้ต่อเนื่องกัน รวมไปถึง Sky Walkway จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้ย่านใจกลางเมือง สามารถฟื้นตัวในเชิงเศรษฐกิจ เป็นเมืองที่น่าอยู่ และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก
ที่มา : https://chipsandbitter.wordpress.com/page/2/
Bristol, United Kingdom มหาลัยคนเดิน
“Bristol Legible City” เป็นโครงการปรับปรุงวิธีการให้ข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการเดินและการใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วยการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ของเมือง ในปี1990 เช่น การสร้างป้ายนำทาง อุปกรณ์ถนน และแผนที่นำทางให้มีความสอดคล้องกัน มีสีสันและเอกลักษณ์เฉพาะตัว นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เมือง Bristol ได้ขยายพื้นที่โครงการ “Bristol Legible City” ให้มีอาณาเขตกว้างขวางออกไป ซึ่งป้ายนำทาง อุปกรณ์ถนน และแผนที่นำทางยังคงได้รับการใช้งาน และมีความเป็นมิตรต่อผู้เยี่ยมเยือน สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน
“เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” การพัฒนาเมืองที่มากกว่าการปรับปรุงทางเท้า
“เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” คือ เมืองที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้การเดินร่วมกับขี่จักรยานและระบบขนส่งมวลชน ผู้คนเดินสัญจรในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกปลอดภัย ซึ่งจะนำผลดีมาสู่ผู้คนที่อาศัยในเมืองทั้งในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตและสังคมให้ดียิ่งขึ้น
การปรับปรุงพื้นที่เมือง หรือบางส่วนของเมืองให้เป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” เป็นเป้าหมายของการพัฒนาเมืองที่สำคัญประการหนึ่งที่เมืองต่างๆ ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจากสามารถตอบโจทย์ในเชิงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การประหยัดพลังงาน การรักษาสภาพแวดล้อม และการแก้ปัญหาจราจร นอกจากนั้นยังสามารถส่งเสริมสุขภาวะของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองได้พร้อมๆ กัน
ที่มา : http://blog.goo.ne.jp/chiko370/e/9084a42e094f635cfb21d2c8024b6238
Tokyo, Japan OMY...ไม่หลับใหลยามค่ำคืน
ย่าน OMY (Otemachi-Marunouchi-Yurakucho) เป็นย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง ที่มีการใช้ที่ดินในลักษณะสำนักงาน ธนาคาร มาตั้งแต่ปี 1890 การใช้ประโยชน์รูปแบบเดียวทำให้เมืองร้างยามค่ำคืน และมีคนจรจัดเข้ามาจับจองพื้นที่ และสูญเสียความสามารถในการแข่งขันให้กับพื้นที่พาณิชยกรรมอื่นๆ การฟื้นคืนสู่สีสันแห่งเมือง ด้วยการรื้อร้างสร้างใหม่ เพิ่มทางเดินเท้า พื้นที่สีเขียว ไฟส่องทาง พัฒนาชั้นล่างของอาคาร และ จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อให้มีการใช้งานพื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่า โดยมีสำนักงานที่ทันสมัย ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหาร ทำให้เกิดการใช้งานตลอดเวลา ไม่ถูกทิ้งร้างในช่วงวันหยุด
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=3wPC4YGgjg8
Portland, United States of America ฉลาดอยู่ ฉลาดเดิน
ด้วยงบประมาณ 60 ล้านบาท รัฐมีการส่งเสริมให้คนใช้จักรยาน และระบบขนส่งมวลชน ส่งผลให้ในปัจจุบันระยะทางการใช้รถของคนเมืองลดลง 6.4 กิโลเมตร/วัน และเพิ่มรายได้ให้กับรัฐได้ถึง 3.5 % นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ชี้ว่า ชาวเมือง Portland จับจ่ายใช้สอย และใช้เวลาว่างเพื่อการพักผ่อน และการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่งผลให้เป็นเมืองที่มีการย้ายถิ่นเข้ามาของผู้ที่มีการศึกษาสูงเป็นจำนวนมากทำให้มีอัตราการตั้งบริษัทใหม่ที่สูง สะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่และเอื้อต่อการเดิน
ที่มา : http://kienviet.net/2012/06/26/curitiba-thanh-pho-xanh-nho-giao-thong-cong-cong
Curitiba, Brazil โต...ในกรอบ
ระบบ BRT (Bus Rapid Transit) ช่วยลดการเติบโตของเมืองแบบไร้ทิศทาง โดยการใช้ประโยชน์ที่ดินคู่ไปกับการออกแบบระบบขนส่งมวลชน ทำให้การใช้รถยนต์ลดลงถึง 27 ล้านเที่ยวต่อปี ลดการใช้น้ำมันได้ 27 ล้านลิตรต่อปี ซึ่งเป็นการใช้พลังงานที่น้อยกว่าเมืองอื่นๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกันในบราซิลถึงประมาณ 30% และ มีผู้ที่เดินไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ในย่านที่เอื้อต่อการเดิน
ที่มา : https://rwm9fc.wordpress.com/page/2/
Copenhagen, Denmark สองเท้า ก้าวเจริญ
โครงการพัฒนาทางเดินเท้า (Strøget) ได้ช่วยพลิกวิกฤติปัญหารถติดและมลพิษทางอากาศอย่างรุนแรงด้วยการยกเลิกการใช้รถยนต์ในเขตพื้นที่พาณิชยกรรมใจกลางเมือง และเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สาธารณะที่เน้นการเดินเป็นหลัก มีพื้นที่สาธารณะเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญในเมือง เช่น โบสถ์ พื้นที่พาณิชยกรรม และพื้นที่สาธารณะต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เมืองมีชีวิตชีวา ดึงดูดการเดินมากขึ้น
ที่มา : http://eriktravel.com/2014/08/19/birmingham/
Birmingham, United Kingdom เปลี่ยนเมืองช้ำเป็นเมืองช็อป
City Center Urban Strategy (1990) เปลี่ยนความเสื่อมโทรมและอาชญากรรมอันเป็นผลจากการเป็นเมืองอุตสาหกรรมหนักของประเทศ ตามวัตถุประสงค์ 2 ประการได้แก่ 1) การพัฒนาจุดดึงดูดใหม่ใจกลางเมืองโดย ด้วยสร้างศูนย์ประชุม ห้างสรรพสินค้า (Bullring Mall) สถานีรถไฟแห่งใหม่ และ 2) เชื่อมโยงการพัฒนาระบบเดินเท้าและพื้นที่สาธารณะในเมือง ให้ต่อเนื่องกัน รวมไปถึง Sky Walkway จากการพัฒนาดังกล่าวทำให้ย่านใจกลางเมือง สามารถฟื้นตัวในเชิงเศรษฐกิจ เป็นเมืองที่น่าอยู่ และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก
ที่มา : https://chipsandbitter.wordpress.com/page/2/
Bristol, United Kingdom มหาลัยคนเดิน
“Bristol Legible City” เป็นโครงการปรับปรุงวิธีการให้ข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการเดินและการใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วยการออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ของเมือง ในปี1990 เช่น การสร้างป้ายนำทาง อุปกรณ์ถนน และแผนที่นำทางให้มีความสอดคล้องกัน มีสีสันและเอกลักษณ์เฉพาะตัว นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา เมือง Bristol ได้ขยายพื้นที่โครงการ “Bristol Legible City” ให้มีอาณาเขตกว้างขวางออกไป ซึ่งป้ายนำทาง อุปกรณ์ถนน และแผนที่นำทางยังคงได้รับการใช้งาน และมีความเป็นมิตรต่อผู้เยี่ยมเยือน สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน