สรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ ?
เอกสารสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ ?
โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี
โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมโนโวเทลกรุงเทพ สยามสแควร์
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ ? ที่ได้จัดขึ้นในวันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557 มี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากตัวแทนภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเดินในพื้นที่เมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงให้กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเมืองเดินดี ซึ่งการสัมมนาฯ ครั้งนี้ได้จัดให้มีการสนทนากลุ่มจำนวน 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มให้มีผู้เข้าร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคสื่อมวลชน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 38 คน
สรุปผลการสัมมนาฯ ทั้ง 3 ช่วงได้ดังนี้
ช่วงที่ 1 ร่วมหารือสภาพปัญหาและความเป็นไปได้ในการพัฒนากรุงเทพฯ เมืองเดินดี
จากคำถามแรก “ทำไมคนกรุงเทพฯ ไม่เดิน” สามารถสรุปความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านวัฒนธรรม และด้านนโยบาย โดยในด้านกายภาพ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้คนกรุงเทพฯ ไม่เดิน ได้แก่ คุณภาพของวัสดุและความต่อเนื่องของทางเดินเท้าต่ำกว่ามาตรฐาน มลภาวะทางอากาศ เสียงและอากาศที่ไม่เหมาะแก่การเดิน ทางเท้าไม่มีความปลอดภัย และขาดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดิน เช่น ร้านค้า ร่มเงา ต้นไม้ รวมถึงขาดการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน ส่วนปัจจัยด้านวัฒนธรรมนั้น ได้แก่ ความนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางเพื่อความสะดวกสบาย และการขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเดินเท้า สำหรับปัจจัยด้านนโยบาย ได้แก่ การที่ภาครัฐให้ความสนใจกับการพัฒนาถนนมากกว่า และการขาดการออกแบบทางเท้าที่ดี
ในคำถามที่สอง “จะทำอย่างไรให้คนกรุงเทพฯ เดิน” สามารถสรุปความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้เป็น 3 ด้านได้เช่นเดียวกัน คือ ในด้านกายภาพ ควรให้มีการออกแบบปรับปรุงคุณภาพทางเท้า และสร้างความเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในด้านวัฒนธรรม ควรเน้นให้มีการสร้างความตระหนักให้คนกรุงเทพฯ เห็นคุณค่าของการเดิน และสร้างนิสัยรักการเดิน ส่วนในด้านนโยบายควรมีการปลุกกระแสความนิยมการเดิน การสนับสนุนสำหรับการเดินในบางพื้นที่ และริเริ่มโครงการนำร่องกับประชาชนบางกลุ่ม
ช่วงที่ 2 ร่วมกำหนดพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบกรุงเทพฯ เมืองเดินดี
จากการนำเสนอแผนที่ศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินที่ UddC ได้ศึกษา ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ให้ความเห็นต่อคำถาม “ท่านคิดว่าพื้นที่ใดเหมาะสมในการเป็นพื้นที่นำร่องกรุงเทพฯ เมืองเดินดี” ว่า พื้นที่นำร่องควรอยู่ในพื้นที่เมือง และเป็นบริเวณที่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของที่ดินจำนวนน้อย โดยเจ้าของพื้นที่อาจจะเป็นหน่วยงานรัฐ เพื่อความสะดวกในการเจรจา หากการพัฒนาพื้นที่นั้นประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีทำให้พื้นที่อื่นๆ นำไปปฏิบัติตามได้ โดยพื้นที่ที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ กล่าวถึงมากที่สุด สองลำดับแรก คือ พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และย่านสยามสแควร์-ราชประสงค์ ตามลำดับ
ช่วงที่ 3 ร่วมพิจารณายุทธศาสตร์และแนวทางความร่วมมือการพัฒนากรุงเทพเมืองเดินดี
จากคำถามแรก “ทำอย่างไรให้คนกรุงเทพฯ สนใจเรื่องการเดิน” ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ มีความเห็นตรงกันว่า ในระดับเมืองต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการพัฒนาการเดินเท้าให้เป็นที่นิยม ควรออกกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยในการเดินเท้า และสร้างการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ ในระดับย่านหรือชุมชนควรสนับสนุนการเดินเพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการพบปะสังสรรค์ของคนในเมืองมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัย และเป็นประโยชน์ต่อย่านและชุมชน และในระดับพื้นที่ควรส่งเสริมความปลอดภัยจากยานพาหนะต่างๆ สร้างความร่มรื่นในการเดินเท้าด้วยต้นไม้ จัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม และมีการจัดระเบียบการค้าบนทางเท้า
สำหรับคำถามที่สอง “เราจะช่วยกันสร้างพื้นที่นำร่องเมืองเดินดีได้อย่างไร” พบว่าผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ เสนอให้มีการสร้างกระแสผ่านกิจกรรม การรณรงค์ หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติให้คนทั่วไปสนใจในการเดินมากขึ้น ผ่านสังคมออนไลน์ หรือการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเดินที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การเดินท่องเที่ยว การเดินในละแวกบ้าน การปิดพื้นที่บางส่วนของเมืองให้เป็นพื้นที่สำหรับการเดินอย่างเดียว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความเห็นให้มีการปรับปรุงพื้นที่นำร่อง เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนทั่วไปสนใจในการพัฒนาพื้นที่เมืองให้เอื้อต่อการเดินเท้าด้วย
ความคิดเห็นของผู้ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ ? ในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ และการวางแผนกิจกรรมในอนาคต เพื่อสร้างความตระหนักถึงการยกระดับศักยภาพการเดินเท้าแก่สาธารณะ และนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กร ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงนโยบายการฟื้นฟูเมือง และนโยบายสุขภาพสาธารณะเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เป็นเมืองที่เดินได้และน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น
เอกสารสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ ?
โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี
โดย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)
วันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557 ณ โรงแรมโนโวเทลกรุงเทพ สยามสแควร์
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ ? ที่ได้จัดขึ้นในวันอังคารที่ 2 ธันวาคม 2557 มี มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากตัวแทนภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเดินในพื้นที่เมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางการเปลี่ยนแปลงให้กรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นเมืองเดินดี ซึ่งการสัมมนาฯ ครั้งนี้ได้จัดให้มีการสนทนากลุ่มจำนวน 5 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มให้มีผู้เข้าร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และภาคสื่อมวลชน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ทั้งสิ้น 38 คน
สรุปผลการสัมมนาฯ ทั้ง 3 ช่วงได้ดังนี้
ช่วงที่ 1 ร่วมหารือสภาพปัญหาและความเป็นไปได้ในการพัฒนากรุงเทพฯ เมืองเดินดี
จากคำถามแรก “ทำไมคนกรุงเทพฯ ไม่เดิน” สามารถสรุปความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ด้านวัฒนธรรม และด้านนโยบาย โดยในด้านกายภาพ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้คนกรุงเทพฯ ไม่เดิน ได้แก่ คุณภาพของวัสดุและความต่อเนื่องของทางเดินเท้าต่ำกว่ามาตรฐาน มลภาวะทางอากาศ เสียงและอากาศที่ไม่เหมาะแก่การเดิน ทางเท้าไม่มีความปลอดภัย และขาดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดิน เช่น ร้านค้า ร่มเงา ต้นไม้ รวมถึงขาดการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน ส่วนปัจจัยด้านวัฒนธรรมนั้น ได้แก่ ความนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางเพื่อความสะดวกสบาย และการขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเดินเท้า สำหรับปัจจัยด้านนโยบาย ได้แก่ การที่ภาครัฐให้ความสนใจกับการพัฒนาถนนมากกว่า และการขาดการออกแบบทางเท้าที่ดี
ในคำถามที่สอง “จะทำอย่างไรให้คนกรุงเทพฯ เดิน” สามารถสรุปความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ได้เป็น 3 ด้านได้เช่นเดียวกัน คือ ในด้านกายภาพ ควรให้มีการออกแบบปรับปรุงคุณภาพทางเท้า และสร้างความเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในด้านวัฒนธรรม ควรเน้นให้มีการสร้างความตระหนักให้คนกรุงเทพฯ เห็นคุณค่าของการเดิน และสร้างนิสัยรักการเดิน ส่วนในด้านนโยบายควรมีการปลุกกระแสความนิยมการเดิน การสนับสนุนสำหรับการเดินในบางพื้นที่ และริเริ่มโครงการนำร่องกับประชาชนบางกลุ่ม
ช่วงที่ 2 ร่วมกำหนดพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาต้นแบบกรุงเทพฯ เมืองเดินดี
จากการนำเสนอแผนที่ศักยภาพการเข้าถึงด้วยการเดินที่ UddC ได้ศึกษา ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ให้ความเห็นต่อคำถาม “ท่านคิดว่าพื้นที่ใดเหมาะสมในการเป็นพื้นที่นำร่องกรุงเทพฯ เมืองเดินดี” ว่า พื้นที่นำร่องควรอยู่ในพื้นที่เมือง และเป็นบริเวณที่มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าของที่ดินจำนวนน้อย โดยเจ้าของพื้นที่อาจจะเป็นหน่วยงานรัฐ เพื่อความสะดวกในการเจรจา หากการพัฒนาพื้นที่นั้นประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีทำให้พื้นที่อื่นๆ นำไปปฏิบัติตามได้ โดยพื้นที่ที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ กล่าวถึงมากที่สุด สองลำดับแรก คือ พื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และย่านสยามสแควร์-ราชประสงค์ ตามลำดับ
ช่วงที่ 3 ร่วมพิจารณายุทธศาสตร์และแนวทางความร่วมมือการพัฒนากรุงเทพเมืองเดินดี
จากคำถามแรก “ทำอย่างไรให้คนกรุงเทพฯ สนใจเรื่องการเดิน” ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ มีความเห็นตรงกันว่า ในระดับเมืองต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการพัฒนาการเดินเท้าให้เป็นที่นิยม ควรออกกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยในการเดินเท้า และสร้างการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ ในระดับย่านหรือชุมชนควรสนับสนุนการเดินเพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการพบปะสังสรรค์ของคนในเมืองมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดความปลอดภัย และเป็นประโยชน์ต่อย่านและชุมชน และในระดับพื้นที่ควรส่งเสริมความปลอดภัยจากยานพาหนะต่างๆ สร้างความร่มรื่นในการเดินเท้าด้วยต้นไม้ จัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม และมีการจัดระเบียบการค้าบนทางเท้า
สำหรับคำถามที่สอง “เราจะช่วยกันสร้างพื้นที่นำร่องเมืองเดินดีได้อย่างไร” พบว่าผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ เสนอให้มีการสร้างกระแสผ่านกิจกรรม การรณรงค์ หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติให้คนทั่วไปสนใจในการเดินมากขึ้น ผ่านสังคมออนไลน์ หรือการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเดินที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การเดินท่องเที่ยว การเดินในละแวกบ้าน การปิดพื้นที่บางส่วนของเมืองให้เป็นพื้นที่สำหรับการเดินอย่างเดียว เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีความเห็นให้มีการปรับปรุงพื้นที่นำร่อง เพื่อเป็นเครื่องมือให้ประชาชนทั่วไปสนใจในการพัฒนาพื้นที่เมืองให้เอื้อต่อการเดินเท้าด้วย
ความคิดเห็นของผู้ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ กรุงเทพฯ เมืองเดินได้ ? ในครั้งนี้ มีส่วนสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ และการวางแผนกิจกรรมในอนาคต เพื่อสร้างความตระหนักถึงการยกระดับศักยภาพการเดินเท้าแก่สาธารณะ และนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กร ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงนโยบายการฟื้นฟูเมือง และนโยบายสุขภาพสาธารณะเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เป็นเมืองที่เดินได้และน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น